เมนู

ภิกษุทั้งหลาย คติ 2 อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง
อันคนสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้.
จบสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7-8



ในสูตรที่ 7 และสูตรที่ 8 ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ 7-8

สูตร1ที่ 7



ว่าด้วยฐานะ 2 ที่ต้อนรับคนทุศีลและคนมีศีล



[273] 27. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับคนทุศีลมี
2 อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ
ที่ต้อนรับคนมีศีล 2 อย่าง คือ มนุษย์หรือเทวดา.
จบสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิคฺคหา แปลว่า ฐานะที่ต้อนรับ ความว่า สถานที่ 2 แห่ง
ย่อมต้อนรับบุคคลทุศีล.
จบอรรถกถาสูตรที่ 9

1. อรรถกถาเป็นสูตรที่ 9.

สูตร1ที่ 8



ว่าด้วยประโยชน์ 2 ประการในการเสพเสนาสนะอันสงัด



[274] 28. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจ
ประโยชน์ 2 ประการ จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว
อำนาจประโยชน์ 2 ประการเป็นไฉน คือ เห็นการอยู่สบายในปัจจุบัน
ของตน 1 อนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็น
อำนาจประโยชน์ 2 ประการนี้แล จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและ
ป่าเปลี่ยว.
จบสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อตฺถวเส ได้แก่ เหตุ. บทว่า อรญฺญวนปฏฺฐานิ ได้แก่
ป่าและดง. ใน 2 อย่างนั้น ในอภิธรรมท่านเรียกที่ทั้งหมดที่อยู่นอก
เสาอินทขีล [ เสาหลักเมือง ] ออกไปว่า ป่า โดยตรงก็จริง ถึงอย่างนั้น
บ่าที่ภิกษุผู้ถืออรัญญิกธุดงค์พอพักอยู่ได้ ที่ท่านกล่าวว่าใกล้ที่สุดชั่ว
500 ธนูนั้นแหละ พึงทราบว่า ท่านประสงค์. บทว่า วนปฏฺฐ ได้แก่
ป่าที่เลยเขตบ้านออกไป ไม่เป็นถิ่นของมนุษย์ ไม่เป็นที่ไถที่หว่าน.
บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ สุดกู่ คือไกลมาก. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารํ
ได้แก่ การอยู่อย่างผาสุกทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า ปจฺฉิมญฺจ
ชนตํ อนุกมฺปมาโน
ความว่า อนุเคราะห์สาวกรุ่นหลังของเรา.
จบอรรถกถาสูตรที่ 10

1. อรรถกถาเป็นสูตรที่ 10.